นโยบาย EPR การรับมือและผลกระทบ สำหรับเจ้าของแบรนด์สินค้าพลาสติก

บทความนี้จะพาผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมพลาสติกทุกท่าน ตั้งแต่ เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค ผู้จัดเก็บ และผู้รีไซเคิล ได้รับรู้เข้าใจ วางแผน ปรับตัว และพร้อมรับมือเมื่อ นโยบาย EPR ถูกบังคับ… รับรู้แต่เนิ่นๆ ก่อนจะโดนหลอกหลอน แล้วไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไปดี

การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต หรือ Extended Producer Responsibility (EPR) คือ หลักการที่มุ่งเน้นให้ผู้ผลิตสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก ขยายความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มุ่งเน้นไปที่การให้ผู้ผลิตสินค้าต้องรับผิดชอบตลอด วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์(Product life cycle) ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การใช้งาน ไปจนถึงการจัดการขยะหลังการบริโภค

นโยบาย Extended Producer Responsibility (EPR) เป็นหนึ่งในแนวคิด และวิธีการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาการสร้างขยะพลาสติกและการปล่อยมลพิษจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทต่าง ๆ ซึ่งเป็นนโยบายที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะสร้าง Impact ต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์พลาสติก และยังรวมไปถึงอุตสาหกรรมรีไซเคิลขยะพลาสติกอีกด้วย

EPR นำเสนอแนวคิดที่ผู้ผลิต และผู้ก่อกำเนิดผลิตภัณฑ์พลาสติกจะต้องรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของพวกเขาตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงการจัดการหลังการใช้งาน โดยมุ่งเน้นการสร้างความรับผิดชอบทางอุตสาหกรรมที่เข้มงวดขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้ใช้งานร่วมกันมีส่วนรับผิดชอบในการจัดการกับขยะและการลดการกระทำที่ส่งผลกระทบทางด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม

ความสำคัญของ EPR ในการลดปริมาณขยะพลาสติก และ “โอกาส” “อุปสรรค” และ “ความท้าทาย” ที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมพลาสติกโดยรวม สามารถแสดงได้ดังนี้

โอกาส (Opportunities)

  • ส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: ผู้ผลิตจะมีแรงจูงใจออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการรีไซเคิล ใช้ปริมานของพลาสติกในการผลิตบรรจุภัณฑ์น้อยลง และใช้เลือกคำนึงถึงปัจจัยความยั่งยืนมากขึ้น
  • กระตุ้นการลงทุนในระบบรีไซเคิล: เงินอุดหนุนจากผู้ผลิต ที่จะถูกจัดเก็บเพิ่มเติมโดยภาครัฐ จะถูกนำมาใช้เพื่อการสนับสนุนนโยบาย EPR สามารถนำมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการรีไซเคิล เพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกขยะ และสนับสนุนเทคโนโลยีรีไซเคิลใหม่ ๆ
  • สร้างงานใหม่: อุตสาหกรรมรีไซเคิลที่เติบโตจะสร้างงานใหม่ในหลายภาคส่วน เช่น การเก็บรวบรวม การคัดแยก การรีไซเคิล และการผลิตสินค้ารีไซเคิล
  • ลดภาระภาครัฐ: ภาครัฐจะมีภาระในการจัดการขยะน้อยลง ประหยัดงบประมาณ และสามารถนำไปพัฒนาโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพิ่มเติม

ภัยคุกคาม (Threads)

  • ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น: ผู้ผลิตอาจต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการออกแบบและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลงทุนในระบบรีไซเคิล และการชำระค่าธรรมเนียมเพื่ออุดหนุนนโยบาย EPR
  • ความซับซ้อนของกฎหมาย: กฎหมาย EPR อาจมีความซับซ้อน ยากต่อการเข้าใจ และสร้างภาระให้กับผู้ผลิต
  • การขาดแคลนแรงงาน: อุตสาหกรรมรีไซเคิลอาจเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ
  • ตลาดสำหรับสินค้ารีไซเคิล: ตลาดสำหรับสินค้ารีไซเคิลยังมีจำกัด ผู้ผลิตอาจประสบปัญหาในการขายสินค้ารีไซเคิล

ความท้าทาย (Challenges)

  • การสร้างความตระหนักรู้: ผู้ผลิตและผู้บริโภคจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และประโยชน์ของ EPR รวมทั้งเพิ่มความเข้าใจในการแยกขยะมากขึ้น
  • การพัฒนาระบบคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพ: จำเป็นต้องมีระบบคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพเพื่อแยกวัสดุรีไซเคิลออกจากขยะทั่วไป
  • การสนับสนุนจากภาครัฐ: ภาครัฐจำเป็นต้องสนับสนุนนโยบาย EPR ผ่านกฎหมายที่ชัดเจน เงินอุดหนุน และโครงสร้างพื้นฐาน
  • การสร้างความร่วมมือ: จำเป็นต้องมีการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาคเอกชน และภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนระบบ EPR ให้ประสบความสำเร็จ

ผลกระทบของนโยบาย EPR ต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติก

นโยบาย Extended Producer Responsibility (EPR) มีผลกระทบที่สำคัญต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกในหลายด้าน เช่น การจัดสรรงบประมาน ความรับผิดชอบต่อสังคม และข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด

การสร้างความรับผิดชอบในการจัดการกับผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกในทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในการจัดการขยะที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ซึ่งทำให้เกิดความรับผิดชอบทางกฎหมายและการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ในด้านการจัดสรรงบประมานด้านการเงิน นโยบาย EPR ส่งผลให้เจ้าของผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติมในการจัดการกับขยะ รวมถึงการจ่ายค่าภาษีและค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในด้านสังคม นโยบาย EPR ช่วยสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้บริโภคเกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติก และกระตุ้นให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการจัดการ หลังจากผ่านการใช้งานเรียบร้อยและเป็นขยะที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้เจ้าของธุรกิจต้องปรับตัวในการผลิตสินค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของลูกค้า

ผลกระทบของนโยบาย EPR ต่อธุรกิจพลาสติกรีไซเคิล

นโยบาย Extended Producer Responsibility (EPR) มีผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจพลาสติกรีไซเคิล ไม่เพียงแต่โอกาสทางธุรกิจในด้านการจัดการกับขยะพลาสติก และแปรรูปกลับมาเป็นวัตถุดิบเพื่อวนกลับมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อไป นอกจากนี้ยังมีผลกระทบอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึง ทั้งในด้านการเงิน การบริหารจัดการ และภาพลักษณ์ของธุรกิจ

ในด้านการเงิน นโยบาย EPR ทำให้ธุรกิจพลาสติกรีไซเคิลต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติมในการจัดการกับขยะ ซึ่งอาจเพิ่มค่าใช้จ่ายในกระบวนการการจัดเก็บและการจัดการขยะ รวมถึงต้องลงทุนกับเทคโนโลยีเครื่องจักร ในกระบวนการไล่ตั้งแต่คัดแยกขยะ บดย่อย ล้างทำความสะอาด อบแห้ง บรรจุ และนำมาเข้าสู่เครื่องจักรผลิต เม็ดพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งงบประมานที่ต้องใช้นั้น จะแปรผันโดยตรงกับ คุณภาพของผลลัพธ์พลาสติกรีไซเคิลที่ต้องการ

ในด้านการบริหารจัดการ นโยบาย EPR ส่งผลให้ธุรกิจพลาสติกรีไซเคิลต้องปรับปรุงกระบวนการการผลิตและการจัดการของพวกเขา เพื่อให้เข้ากับข้อกำหนดและข้อกฎหมายที่กำหนดโดยนโยบาย EPR และกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ กากขยะ น้ำเสีย มลภาวะทางอากาศเป็นต้น ซึ่งอาจเพิ่มความซับซ้อนและความยุ่งเหยิงในการดำเนินธุรกิจมากทีเดียว

ในด้านภาพลักษณ์ของธุรกิจ การปฏิบัติตามนโยบาย EPR ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของธุรกิจว่าเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจช่วยดึงดูดและรักษาลูกค้าที่มีความตั้งใจต่อการอนุรักษ์และการใช้สินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น นโยบาย EPR มีผลกระทบที่สำคัญต่อธุรกิจพลาสติกรีไซเคิลทั้งในด้านการเงิน การบริหารจัดการ และภาพลักษณ์ แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความไว้วางใจจากลูกค้าที่มีความตั้งใจที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

นโยบาย EPR ช่วยลดขยะพลาสติกได้มาขนาดไหน มีประสิทธิภาพเพียงใด?

การลดปริมาณขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนของโลกในปัจจุบันและอนาคต เป็นหนึ่งในความต้องการที่เร่งด่วนในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการผลิตของมนุษย์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์

การลดปริมาณขยะพลาสติกไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากพลาสติกมีความหลากหลายในการใช้งานและมีรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันไป แต่นโยบาย Extended Producer Responsibility (EPR) เป็นหนึ่งในมาตรการที่สามารถช่วยในการลดปริมาณขยะพลาสติกได้… เนื่องจาก

EPR ทำให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายต้องรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของพวกเขาตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงการจัดการหลังการใช้งาน ซึ่งส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง และการพัฒนาเทคโนโลยีและวัสดุทดแทนที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง

นอกจากนี้ EPR ยังส่งเสริมให้มีการพัฒนาวัสดุทดแทนที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างโอกาสให้ธุรกิจพลาสติกรีไซเคิลเติบโตขึ้น ซึ่งจะสร้างงานและเสริมสร้างอัตลักษณ์ของธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับโลก จึงถือได้ว่านโยบาย EPR เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการลดปริมาณขยะพลาสติกและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและมีคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

การปฏิบัติตามนโยบาย EPR ไม่ใช่เพียงแค่ทำๆไปเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับ  แต่ยังมีผลพลอยได้ที่ตามมา คือ…

ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจและการบริโภคที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย Extended Producer Responsibility (EPR) เป็นปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดภาพลักษณ์ของธุรกิจและพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภค โดยมีข้อดีดังนี้:

  1. ภาพลักษณ์ของธุรกิจ: การปฏิบัติตามนโยบาย EPR ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจว่าเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถสร้างความไว้วางใจจากลูกค้าและชุมชนได้ เป็นการเสริมสร้างและเสริมทางธุรกิจที่มีคุณค่าและยั่งยืนในระยะยาว
  2. การบริโภค: นโยบาย EPR ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความตระหนักรู้ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่มีการดำเนินการตามนโยบาย EPR และมีการนำกลับมาใช้วัสดุหรือรีไซเคิลผลิตภัณฑ์มากขึ้น
  3. ความตอบสนองต่อนโยบาย: ผู้บริโภคและตลาดกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ นโยบาย EPR ส่งเสริมให้ธุรกิจปรับเปลี่ยนและประสานงานกับการบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและลูกค้าในระยะยาว ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

การสร้างโอกาสใหม่สำหรับธุรกิจผ่านนโยบาย Extended Producer Responsibility (EPR)

การสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจจากการปฏิบัติตาม นโยบาย EPR เป็นหนึ่งในแนวทางที่มีความเป็นไปได้และมีประสิทธิภาพในการสร้างความยั่งยืนแก่ธุรกิจ โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่: นโยบาย EPR ส่งเสริมให้ธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีระดับคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำกลับมาใช้ซ้ำหรือสามารถรีไซเคิลได้ เป็นต้น
  • โอกาสการสร้างตลาดใหม่: การบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพจะสร้างโอกาสให้ธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ โดยเฉพาะในสินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน
  • การสร้างพันธมิตรธุรกิจ: นโยบาย EPR สามารถสร้างโอกาสให้ธุรกิจเคลื่อนไหวไปสู่การทำงานร่วมกันกับองค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนเพื่อการบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ
  • การสร้างความต่อเนื่องของธุรกิจ: การปฏิบัติตามนโยบาย EPR ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและสังคมว่าธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความเชื่อมั่นในธุรกิจในระยะยาว

ถ้าต้องทำ EPR จะเริ่มต้นอย่างไร เตรียมตัว / ปรับตัว อย่างไร?

การวางแผนเตรียมรับมือผลกระทบของนโยบาย Extended Producer Responsibility (EPR) ในอนาคตเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ธุรกิจและผู้ผลิตควรพิจารณาเพื่อให้สามารถปรับตัวและเตรียมความพร้อมต่อการดำเนินนโยบาย EPR ได้อย่างเหมาะสม โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. การประเมินผลกระทบ : ธุรกิจควรทำการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้นโยบาย EPR ต่อกระบวนการผลิต การจัดการขยะ และความยั่งยืนของธุรกิจเอง โดยต้องทำการพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA)
  2. การเตรียมพื้นที่และทรัพยากร : การวางแผนเตรียมพื้นที่และทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการตามนโยบาย EPR เช่น การสร้างโรงงานและสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการขยะ
  3. การฝึกอบรมพนักงาน : การเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานทุกระดับในองค์กรเกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบาย EPR และวิธีการทำงานที่เปลี่ยนแปลง
  4. การสร้างพันธมิตร : ธุรกิจควรสร้างพันธมิตรกับภาครัฐและชุมชนเพื่อให้มีการร่วมมือในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. การติดตามและประเมินผล : การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย EPR เพื่อให้สามารถปรับปรุงและปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานต่อไปได้ในระยะยาว

การวางแผนเตรียมรับมือผลกระทบของนโยบาย EPR ในอนาคตเป็นการรับมือกับที่มาของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการตอบสนองต่อความต้องการของสังคมในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างการร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐในการส่งเสริมนโยบาย Extended Producer Responsibility (EPR)

จุดสำคัญมากๆในทางปฏิบัติก็คือ การดำเนินนโยบาย EPR นั้น เป็น Coperative Planned Procedure คือ เป็นการวางแผนทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. การสร้างความเข้าใจร่วมกัน : ภาคเอกชนและภาครัฐควรทำงานร่วมกันในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย EPR และความสำคัญของการลดปริมาณขยะพลาสติกในชุมชนและภูมิภาค
  2. การสนับสนุนและสร้างนโยบายท้องถิ่น : ภาคเอกชนสามารถสนับสนุนและเสนอนโยบาย EPR ในระดับท้องถิ่นที่เหมาะสมกับความต้องการของชุมชนและภูมิภาค
  3. การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ : ภาคเอกชนสามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจในพื้นที่เพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบาย EPR
  4. การสนับสนุนโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการลดปริมาณขยะ : ภาคเอกชนและภาครัฐสามารถร่วมกันสนับสนุนโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมการลดปริมาณขยะพลาสติกในชุมชนและภูมิภาค
  5. การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมนโยบาย EPR : ภาครัฐสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติตามนโยบาย EPR โดยการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถใช้ในการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพขึ้น

หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility)  เป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก แต่การนำมาใช้จริงก็ยังคงมีความท้าทายอีกมากมาย แล้วอนาคตของพลาสติกจะเป็นอย่างไร? คำตอบนี้อยู่ในมือของเราทุกคน

เรา ในฐานะผู้บริโภคสามารถช่วยลดการใช้พลาสติก โดยการ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล

รา ในฐานะผู้ผลิตสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการ พัฒนาระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ

เรา ในฐานะประชาชนสามารถร่วมรณรงค์ โดยการ ให้ความร่วมมือและสนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมการรีไซเคิล

ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน เราจะสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับโลกของเรา

โดยสรุป นโยบาย Extended Producer Responsibility (EPR) เป็นเครื่องมือสำคัญที่มีผลกับการจัดการขยะพลาสติกและการสร้างธุรกิจที่มีความยั่งยืนในอนาคต ในบทความนี้เราเห็นถึงความสำคัญของการวางแผนเตรียมรับมือกับผลกระทบของนโยบายนี้อย่างรอบด้าน เพื่อให้สามารถนำไปสู่การดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในตอนหน้าผมจะพาทุกท่าน ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการประเมินผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ หรือที่เรามักเรียกกันว่า การประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ Life Cycle Assessment กันครับ

แหล่งที่มาของข้อมูล:

Message us