ข้อเท็จจริงพลาสติกย่อยสลายได้

ข้อเท็จจริง ของพลาสติกย่อยสลายได้

พลาสติกย่อยสลายได้ สามารถย่อยสลายได้อย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหนและไม่ทิ้งสารพิษ ก่อสารตกค้างในดิน น้ำและท้องทะเลจริงหรือไม่ วันนี้เรามาขยายคำตอบกัน 

จากที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปริมาณขยะมีมากขึ้นทุกวัน ในขณะที่การกำจัดนั้นยังไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกำจัดขยะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ด้วยเช่นเดียวกัน ดังที่เราได้พบตามข่าวไม่ว่าจะในโซเชียลมีเดียหรือแหล่งข่าวต่างๆ มากมาย ผลกระทบที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่ามีไม่น้อยและขยายวงกว้างขึ้นในทุกขณะ 

พื้นที่ในการจัดเก็บขยะรอการกำจัดก็เช่นเดียวกัน ยังคงเป็นปัญหาและก่อให้เกิดคำถามตามมามากมายว่า เราต้องมีพื้นที่แค่ไหนในการจัดเก็บ และต้องสูญเสียอะไรบ้างจากการเก็บขยะรอการกำจัดเหล่านั้น สุดท้ายแล้วปัญหาเหล่านี้จะได้รับการแก้ปัญหา บรรเทาไปในทิศทางใด ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เรายังไม่ได้คำตอบอย่างชัดเจน เพียงแต่ทำได้ด้วยการร่วมมือกันในการลดปริมาณขยะและแยกขยะนั่นเอง 

ทั้งนี้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่หลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกไม่ได้นั้น ก็ได้หาทางออกด้วยการเลือกใช้พลาสติกทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล หรือ พลาสติกย่อยสลายได้

พลาสติกย่อยสลายได้ หรือ พลาสติกชีวภาพ (bioplastics) หรือ ไบโอพลาสติก พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ เป็นอย่างไร

พลาสติกชีวภาพ (bioplastics) ผลิตจากชีวมวล ( biomass) พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพใช้เวลาย่อยสลายนาน (น้อยกว่าพลาสติกทั่วไป)  และเมื่อแตกสลายตัวจะกลายเป็นไมโครพลาสติก (microplastics) ซึ่งมีก่อผลกระทบเหมือนพลาสติกทั่วไปนั่นเอง

พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ Compostable plastic พลาสติกทางเลือกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พลาสติกชนิดนี้จะทำจากพืช เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ ซึ่งจะสามารถสลายตัวได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

กระบวนการย่อยสลายในพลาสติกสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. พลาสติกที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ หมายถึง พลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้เร็วมากกว่าพลาสติกทั่วไปและมีผลกระทบ สารเคมีปนเปื้อนต่างๆ น้อยลงกว่าชนิดเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต วัตถุดิบและตัวแปรอันเป็นส่วนผสมในเม็ดพลาสติกด้วยเช่นกัน
  2. พลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ หมายถึงพลาสติกที่ใช้เวลานาน อาจจะหลายร้อยหรือหลายพันปีในการย่อยสลาย พลาสติกกลุ่มนี้ก็อย่างเช่น พลาสติกที่ได้จากปิโตรเลียม 
  3. พลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้บางส่วน หรือ พลาสติกย่อยสลายได้ในธรรมชาติ

พลาสติกที่สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ (compostable plastic) สังเกตสัญลักษณ์ ดังนี้

  • ประเทศไทย :  ISO 17088 , มอก. 17088-2555 
  • สหรัฐอเมริกา : ASTM D6400
  • ยุโรป : EN 13432
Message us