อัพเดท 5 เทรนด์ที่จะเกิดขึ้นกับ อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล ในปี 2565

อัพเดท เทรนที่จะเกิดขึ้น กับ อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล ในประเทศไทย ปี2565 และการปรับตัว

5 เทรนด์ ที่จะเกิดขึ้นกับ อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล ปี 2565
เทรน อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล ในปี 2565

อัพเดท 5 เทรนที่จะเกิดขึ้น กับ อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล ในประเทศไทย ปี 2565 มีดังนี้

  1. ภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบ พลาสติกรีไซเคิล จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
  2. เม็ดพลาสติกรีไซเคิล จะถูกนำไปใช้กับงาน High-valued  มากขึ้น
  3. การวัดค่า carbon footprint ในการผลิต เม็ดพลาสติกรีไซเคิล จะมีความจำเป็น
  4. ปีทองของผู้ผลิตวัตถุดิบ พลาสติกรีไซเคิล
  5. การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในกระบวนการผลิต เม็ดพลาสติกรีไซเคิล จะมีความจำเป็น

 !!!รู้ก่อน เตรียมตัวก่อน ปรับตัวก่อน!!!  

ก่อนอื่นต้องขอกล่าวคำว่าสวัสดีปีใหม่กับท่านผู้กี่ยวข้องใน อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล ทุกๆท่านครับ  ปีเสือ 2565 กับคุณผู้อ่านทุกๆท่านนะครับ เชื่อว่าปี 2564 ที่ผ่านมาเป็นปีที่แวดวงผู้เกี่ยวข้องกับพลาสติกรีไซเคิลทุกๆคนน่าจะประสบกับเหตุการณ์ค่างๆมากมาย ทั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิท-19, การล๊อคดาวน์, ความตึงตัวของอุปทานวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิล หรือจะเป็นราคาของเม็ดพลาสติก virgin และ รีไซเคิลที่ปรับตัวขึ้นเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่า ปี 2564 ที่ผ่านพ้นไปนี้ เป็นปีที่พวกเรา พบกับความผันผวนในหลายๆอย่างเลยทีเดียว…

และสำหรับในปี 2565 นี้ เราคงจะพบกับความผันผวนไม่มากเท่ากับ ปี 2564 แต่ก็จะมี Trend หรือแนวโน้มที่สำคัญๆต่างๆ ที่เราจะต้องคอยติดตาม และพัฒนา ศึกษาปรับเปลี่ยนธุรกิจของเราในทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้… ส่วนจะมีแนวโน้มอะไรที่เกิดขึ้นมาบ้าง ทางทีมงานฝ่ายพัฒนาธุรกิจ P S M Plasitech ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกท่านตรงนี้แล้วครับ

อย่างที่ได้เกริ่นไปข้างบนแล้ว ว่ามีอยู่ 5 Trend หลักๆ ที่จะเกิดขึ้นและเกิดความเปลี่ยนแปลงในแวดวงอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิลในประเทศไทยของเรานั้น เราจะมาดูรายละเอียด  ของแต่ละ Trend กันเลยครับ

Trend ที่ 1 : ภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบใน อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิลได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อนหน้านี้แล้วเนื่องจากการใช้งานในประเทศที่เพิ่มขึ้นและยังมีการส่งออกไปยังประเทศที่มีการใช้งานเม็ดพลาสติกรีไซเคิลเป็นจำนวนมากติดอันดับโลก คือ จีนและอินเดีย ไหนจะแถบประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างเวียดนาม พม่า กัมพูชาและลาวซึ่งประเทศต่างๆเหล่านี้ต่างก็เป็นประเทศที่อุตสาหกรรมการผลิตยักษ์ใหญ่ จากหล่ยๆประเทศชั้นนำย้ายฐานการผลิตเข้ามา จึงกลายมาเป็นประเทศที่มีการใช้งานเม็ดพลาสติกรีไซเคิลอย่างมีนัยยะสำคัญ

และปัญหาการขาดแคลนนี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเกิดการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนพลาสติกต่างๆ จากประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งโดยปกติแล้วอุตสาหกรรมจำพวกนี้ ต่างก็เป็นต้นทางของวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิลประเภท Post-Industrial Recycled(PIR) ดังนั้นการขาดหายไปของอุตสาหกรรมเหล่านี้ จึงทำให้ปริมาณของวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิลประเภท PIR จึงน้อยลงไปอย่างมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และปัญหานี้ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อ เกิดอุบัติการณ์การแพร่ระบาดของ เชื่อไวรัส โควิท-19 ทั่วโลก…

การระบาดของเชื้อ covid-19 นั้น นอกจากจะทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมพลาสติกเกิดการชะงักแล้วยังส่งผลกระทบไปยังฝั่งของการจัดเก็บขยะพลาสติกในครัวเรือนอีกด้วย เรียกได้ว่าเกิดการชะงักของวัตถุดิบต้นทางของทั้งจากฝั่งอุตสาหกรรม(PIR) และฝั่งจากครัวเรือน Post-Consumer Recycled(PCR) สาเหตุเหล่านี้จึงทำให้เกิดมีความต้องการของวัตถุดิบเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ… ประกอบกับราคาของเม็ดพลาสติก virgin ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตลอดตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2564  ยิ่งเพิ่มความต้องการใช้พลาสติกรีไซเคิล และทวีคูณปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในปีที่ผ่านมาอย่างยิ่งยวด

สำหรับในปี 2565 นี้สภาวะแบบนี้จะยังคงดำเนินต่อไปสภาวะของตลาดพลาสติกรีไซเคิลแต่ความรุนแรงจะน้อยลง เนื่องจากความคลี่คลายของสถานการณ์โรคระบาด covid-19 ทำให้ภาคส่วนต่างๆสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้หรือใกล้เคียงกับสภาสะปกติ แต่ประเด็นที่น่าจับตามอง คือ ความผันผวนราคาของเม็ด virgin ซึ่งจะเป็นแรงกดดันโดยตรงต่อ อุปสวค์และอุปทานของตลาดเม็ดพลาสติกรีไซเคิลนั่นเอง

แนวทางการปรับตัว : สำหรับในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิลนั้น ในส่วนของฝั่งผู้บริโภคเม็ดพลาสติกรีไซเคิ้ลนั้น ควรจะมีการวางแผนเกี่ยวกับช่วงเวลาและปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ และถ้าเป็นไปได้แล้วควรจะมีการกระจายความเสี่ยงโดยการสั่งซื้อวัตถุดิบจากทาง ซัพพลายเออร์มากกว่า 1 เจ้า แต่ยังไงก็ควรคำนึงถึงคุณภาพและการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิล ประกอบด้วย

Trend ที่ 2 : เม็ดพลาสติกรีไซเคิล จะถูกนำไปใช้กับงาน High-valued  มากขึ้น

เชื่อว่าหลายๆท่านน่าจะคุ้นเคยกับ แนวคิดการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน  ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มุ่งการนำทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ และพยายามลดการทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยตั้งแต่ที่แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้ถูกแพร่หลายอย่างเป็นวงกว้าง ทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล

เริ่มตั้งแต่แนวคิดของการรณรงค์เริ่มลดการพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไปจนถึงยกเลิกการใช้ในที่สุดในอนาคตอันใกล้ ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกในกลุ่มนี้ได้แก่ พวกถุงพลาสติกใส่ของ, บรรจุภัณฑ์อาหาร ready to go/ready to eat, หลอดูดนำ้ หรือพวกพลาสติกห่อหุ้มภาชนะเป็นต้น ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วต่างมีการรณรงค์เรื่องนี้อย่างจริงจัง ร่วมกับการนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ด้วย

สำหรับในประเทศไทยเรานั่นในปัจจุบันมุ่งเน้นในการนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมารีไซเคิล แต่กลับเริ่มจะมีมุมมองในการนำกลับมารีไซเคิลที่ต่างออกไปกล่าวคือ จากเดิมที่วัตถุประสงค์หลักในการนำวัสดุพลาสติกรีไซเคิลกลับมาใช้ คือ การลดต้นทุนในการผลิต แต่ด้วยแนวคิดของ Circular Economy นั้นทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก บางประเภทบางชนิด สามารถใช้ประโยชน์จากการประยุกต์ใช้แนวคิดนี้ร่วมกับวัสดุพลาสติกรีไซเคิล นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับ ผลิตภัณฑ์พลาสติก หรือผลิตภัณฑ์ที่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบได้ ซึ่งมูลค่าที่เพิ่มขึ้น(Value-added) นี้ อาจจะอยู่ในรูปของการที่สามารถขายสินค้าได้ในราคาที่แพงขึ้น หรืออาจจะเป็นเรื่องของการทำ Brand perception ก็เป็นได้

ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในกลุ่มนี้เช่น กระเป๋าดีไซส์สวยเก๋ที่ถักสายมาจากเส้นหวายพลาสติกรีไซเคิล, เสื้อผ้าหรือจีวร ที่ผลิตจากขวดน้ำ PET ที่ใช้งานแล้ว หรือจะเป็นเคสโทรศัพท์มือถือ ที่ผลิตจากวัสดุcompositeที่มีพลาสติกรีไซเคิลเป็นต้น… ซึ่งจุดขายของผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ ผู้ผลิตต่างก็ต้องการชี้ประเด็นของความน่าสนใจไปที่ ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ ดีไซน์ ผนวกเข้ากับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งจากทางฝั่งผู้ผลิตและผู้ซื้อ

แนวทางการปรับตัว : ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า วัตถุประสงค์ของการใช้พลาสติกรีไซเคิลในปัจจุบันนี้ แตกต่างจากวัตถุประสงค์ของการใช้พลาสติกรีไซเคิลแบบเก่า ที่มุ่งเน้นไปที่ลดต้นทุนของสินค้าเพื่อที่จะสามารถขายให้ได้ถูกลง หรือขายให้ได้กำไรเพิ่มขึ้นจาการได้เปรียบทางต้นทุนการผลิตอย่างสิ้นเชิง และเทรนของ high value-added นี้จะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเป็นเทรนหลักของการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่ใหม่ที่มีกำลังซื้อ ซึ่งสนใจในมุมมองของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

ดังนั้นในส่วนผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกนั้น เราควรพัฒนาแนวคิด และเทคโนโลยี ในการสรรสร้างผลิตภัณฑ์โดยมุ่งเน้นไปที่ ไอเดีย การออกแบบ แนวคิดการใช้งาน หรือการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มากกว่าการขายตัดราคากับคู่แข่งในตลาด

เทรนที่ 3 : การวัดค่า carbon footprint ในการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล จะมีความจำเป็น

Carbon footprint คือ วิธีการวัดปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยออกมาในวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาองวัตถุดิบ การขนย้าย การผลิต การใช้งาน และการจัดการซากขยะของผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยค่า ของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในช่วงวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นี้ จะถูกคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และจะแสดงข้อมูลนี้ออกมาในรูป “ฉลากคาร์บอน” (carbon label)

เราจ้องยอมรับครับว่าในช่วงเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ กระแสความตื่นตัวในเรื่องของ การรักษาสิ่งแวดล้อมและการลดโลกร้อน มีความตื่นตัวกันมาก ในทุกๆถาคส่วน ทั้งประชาคมโลก รัฐบาลในแต่ละประเทศ หน่วยงานราชการ เอกชน ผู้ผลิต หรือแม้กระทั่งผู้บริโภค โดยในแต่ละประเทศต่างก็มีข้อตกลงร่วมกันว่า จะร่วมมือร่วมใจกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ซึ่งจะวัดเป็นค่าของคาร์บอนไดออกไซค์แทนเพื่อความง่าย) ซึ่งตัวการหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และทำให้สิ่งแวดล้อมของโลกมีปัญหาตามมา… และอุตสาหกรรมพลาสติกก็เช่นกัน ทุกภาคส่วนมีการตื่นตัวกันมากๆ เพราะถูกมองว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักอันหนึ่ง ที่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ออกมาเป็นจำนวนมากในวัฏจักรของอุตสาหกรรม

จากเหตุผลข้างต้นที่ผมได้กล่าวมานั้น ทำให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกสมัยใหม่นี้ ไล่ตั้งแต่ในส่วนที่เป็นบรรจุภัณฑ์ หรือสินค้า อุปโภคและบริโภคต่างๆนั้น ถูกแรงกดดันที่จะลดจะต้องลดปริมาณของคาร์บอนที่ปลดปล่อยออกมาในวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ และจะต้องมีการแสดงข้อมูล ฉลากคาร์บอน (carbon label) ให้กับผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลนี้… ซึ่งแนวทางปฏิบัตินี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้วแถบยุโรป อเมริกา หรือเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น, เกาหลี หรือจีน 

และในการลดของปริมาณคาร์บอนที่ปลดปล่อย (carbon emission) ในอุตสาหกรรมพลาสติกนั้น ภาคส่วนของวัตถุดิบเม็ดพลาสติกรีไซเคิลถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญชิ้นหนึ่ง ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมพลาสติกบรรจุเป้าหมายอันนี้ ในฐานะของผู้เปลี่ยนพลาสติกที่ถูกใช้งานแล้ว มาเป็นวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิลซึ่งมีcarbon emission ที่น้อยกว่าการผลิตเม็ดพลาสติก virgin หลายเท่าตัว ดังนั้นเราสามารถบอกได้อย่างเต็มปากเลยว่า วัตถุดิบเม็ดพลาสติกรีไซเคิลนั้น เป็นหนึ่งใน key หลักๆของแนวคิดที่กล่าวมานี้เลยทีเดียว…

เม็ดพลาสติกรีไซเคิลสมัยใหม่นี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งครับ ที่จะต้องมีการทำการตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability) ในกระบวนการผลิตตั้งแต่แหล่งที่มาของวัตถุดิบ การขนย้ายวัตถุดิบมายังโรงงานผลิตการผลิตเม็ดพลาสติกออกมามีการใช้พลังานไฟฟ้าเท่าไร มีสารเคมีอะไรบ้างที่ถูกใช้ไปในการผลิต ผลิตเสร็จแล้วใช้ถุงแบบไหน และมีของเสียจากการผลิตขนาดไหน ซึ่งข้อมูลที่ถูกเก็บอย่างละเอียดถี่ถ้วนในทุกกระบวนการที่กล่าวมานี้ จะถูกนำมาคำนวนเป็นปริมาณคาร์บอนที่ปลดปล่อยออกมาในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล และข้อมูลนี้ถูกส่งต่อ ไปยังผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือผลิตภัณฑ์ที่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบ เพื่อนำข้อมูลนี้ไปใช้ปนะกอบในการจัดทำ carbon label ให้กับผลิตภัณฑ์ของตัวเองต่อไป

แนวทางปรับตัว : ผู้อ่านสังเกตเห็นไหมครับว่า เม็ดพลาสติดรีไซเคิลนั้น ไม่ได้ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่กลับเป็นจุดสำคัญที่จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์พลาสติกนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาในแง่ของการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคในประเทศที่พัฒนาหลายๆประเทศนี้ เขาพิจารณา carbon label ประกอบการซื่อด้วยนะครับ ว่าผลิตภัณฑ์ไหนมีcarbon emission น้อยกว่ากัน พอจะเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมครับว่าเขามีความสนใจและจริงจังกันมากๆเลยครับ  ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา ทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทย ควรเริ่มหันมาสนใจข้อมูล carbon label นี้ เพื่อยกระดับสังคมของประเทศไทย ให้เป็นสังคมคาร์บอนต่ำกันครับ

เทรนที่ 4 : ปีทองของ อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล โดยเฉพาะผู้ผลิตวัตถุดิบ เม็ดพลาสติกรีไซเคิล

ในปี 2564 ที่ผ่านมา จากที่ผมได้สัมผัส และสอบถามผู้ประกอบการทางด้านอุตสาหกรรมรีไซเคิล ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากโควิทเลย เพราะสามารถขายเศษพลาสติกหรือเม็ดพลาสติกได้มากขึ้น มิหนำซ้ำยังสามารถขายได้ราคาที่แพงขึ้น ได้กำไรเยอะขึ้นอีกด้วย เรียกได้ว่าถ้ากิจการไหนมีเศษวัตถุดิบรีไซเคิล อยู่ในมือแล้วหล่ะก็ ไม่ว่าจะหยิบจับอะไรเอามาขาย ก็สามารถขายได้ราคา ได้ผลตอบแทนกันอย่างงดงามทั้งนั้น หลายๆคน ถึงกับบอกว่าเป็นปีทองจริงๆ

สำหรับในปี 2565 นี้ ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงครับ จากการคาดการอุปสงค์ทางด้านปริมาณของเศษพลาสติกรีไซเคิลก็ยังคงมีจำกัดเช่นเดิม ในส่วนของฝั่งอุปทานก็ยังมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลังโควิทของภาคการผลิตและทางฝั่งผู้บริโภค และสภาวะดังกล่าวนี้จะยังคงดำเนินไปถึงปีหน้าด้วยซ้ำไป เพราะปัจจัยด้านราคาของเม็ดพบาสติก virgin ยังคงมีแนวโน้มที่แข็งตัวที่เป็นแรงเสริมให้กับภาคธุรกิจรีไซเคิลอย่างดี… สรุปได้อย่างง่ายๆเลยว่า ตอนนี้อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิลกำลังได้ประโยชน์จากความไม่สมดุลหรือสภาวะที่ผิดเพี้ยนกัน(anomaly) ระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาด

แต่ทว่าเมื่อใดก็ตามที่ภาวะสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานกลับเข้ามาสู่สภาวะปกติแล้วหล่ะก็ ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็มีมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นปกติแบบเดิมเหมือนกับสภาวะก่อนโควิทระบาท แต่จะมีความต่างออกไปอยู่จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ ตลาดพลาสติกรีไซเคิลจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆอย่างชัดเจนเลยคือ กลุ่มที่จะถูกนำไปใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์พลาสติก และกลุ่มที่จะถูกนำไปใช้เพิ่มลดค้นทุนโดยไม่สนใจด้านมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด… เหตุผลก็เพราะว่า ช่วงระยะเวลาแพร่ระบาดของโควิทนี้ เป็นช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมได้มีการเรียนรู้ และนำพลาสติกรีไซเคิลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง

แนวทางการปรับตัว : สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจพลาสติกรีไซเคิลแล้ว หลายๆท่านอาจจะยึดติดกับนาทีทอง 2-3 ปีมานี้จนอาจจะเกิดเป็นความประมาทและชะล่าใจไป ว่าธุรกิจของเรากำลังไปได้สวย จึงนำผลกำไรที่ได้มาไปใช้ผิดที่ผิดทาง จนมิได้ยั้งคิดถึง ผลกระทบที่จะตามมาเมื่อนาทีทองหมดลง… อย่าประมาทกับเทรนที่มันเกิดจาก anormaly เลยครับ เพราะเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมันกลับมา normal เมื่อใด ทุกๆอย่างมันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนอาจจะตามไม่ทัน และคาดไม่ถึง ตอนนี้สิ่งที่จะทำได้ คือ พัฒนาองค์ความรู้ ต่อยอด ประยุกต์ใช้ ความรู้ต่างๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมและสิ่งใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมรีไซเคิลของประเทศไทยเรา จะเป็นการดีกว่าครับ

เทรนที่ 5 : การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในกระบวนการผลิต เม็ดพลาสติกรีไซเคิล จะมีความจำเป็น

จากแนวคิดที่มีการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ต้องการคุณภาพและสมบัติที่ซับซ้อนมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิล และมาตรฐานในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลมีความสำคัญ และถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง ดังนั้นแนวคิดของการตรวจสอบย้อนกลับ(traceability) จึงถูกเริ่มนำมาใช้ในอุตสาหกรรมนี้

การตรวจสอบย้อนกลับ(traceability) เป็นกระบวนการที่สำคัญในการควบคุม และรับรองคุณภาพของทางฝั่งผู้ผลิตที่มีต่อผู้บริโภค โดยจะมีการเก็บข้อมูลของผลิตภัณฑ์โดย ไล่มาตั้งแต่ส่วนของแหล่งที่มาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การส่งต่อถึงมือผู้บริโภค และการกำจัดทิ้งเมื่อหมดอายุการใช้งาน ซึ่งกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับนี้ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางในหลากหายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมอาหารและยา

สำหรับการประยุกต์ใช้งานแนวคิด Traceability กับอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิลนั้นจะขออนุญาตยกตัวอย่างที่ทาง P S M ได้ดำเนินการอยู่เพื่อเป็นแนวทางครับ โดยจะขออธิบายเป็นส่วนๆดังนี้

  • ส่วนวัตถุดิบรับเข้า : จะมีการเก็บข้อมูลของ supplier เกี่ยวกับชนิดของวัตถุดิบรีไซเคิลว่ามาจากชิ้นงานประเภทอะไรบ้าง, มีกระบวนในการจัดการกับเศษพลาสติกนั้นอย่างไรบ้างตั้งแต่ตอนรับวัตถุดิบเข้ามา, สถานที่ตั้งของ supplier และวิธีการจัดส่งมายังโกดังของ P S M Plasitech ซึ่งตรงส่วนนี้หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่า เราต้องเก็บข้อมูลจรงส่วนนี้ด้วยหรือ คำตอบคือ ใช่ครับเพราะว่า ข้อมูลตรงส่วนนี้จะถูกนำไปคำนวนหา ค่า carbon footprint ของ ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกรีไซเคิบในขั้นตอนสุดท้ายนั่นเอง
  • ส่วนการผลิต : ในส่วนการผลิตนั้น จะมีการเก็บข้อมูลของขั้นตอนกระบวนการผลิตว่ามีขั้นตอนใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการคัดแยกวัตถุดิบก่อนการผลิต ชนิดของสารเติมแต่งพลาสติก(polymer additive) ที่ถูกใส่เข้าไปในขั้นตอนการผลิต, สูตรในการผลิตเม็ดพลาสติกในแต่ละ SKUs, ข้อมูลของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตในแต่ละขั้นตอน เพื่อนำเอามาใช้ในการคำนวนค่า carbon foorprint ในการผลิต
  • ส่วนการส่งมอบไปยังลูกค้า : ซึ่งในส่วนตรงส่วนนี้ทางเราจะเก็บข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ตั้งของลูกค้า/วิธีการจัดส่ง, สเปค/ความต้องการของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ลูกค้าต้องการ, ปริมาณการใช้งานเฉลี่ยในแต่ละเดือนเพื่อนำมาประเมินความต้องการใช้งานและนำมาคำนวนปริมานวัตถุดิบที่ต้องเตรียมพร้อมไว้ให้กับลูกค้าเจ้านั้นๆ เพื่อให้สามารถส่งมอบเม็ดพลาสติกรีไซเคิลให้กับลูกค้าแต่ละรายได้อย่างตรงเวลา

ถ้าเราลองพิจารณาดูข้อมูลแต่ละอย่างที่มีการจัดเก็บในกระบวนการแล้วหล่ะก็ เราจะสังเกตเห็นได้เลยครับส่า มันเป็นข้อมูลที่เราต้อวคลุกคลีอยู่ในขั้นตอนกระบวนการผลิตอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเรามีความสนใจที่จะจัดเก็บข้อมูลตรงส่วนนี้ไว้หรือไม่เท่านั้นเอง ซึ่งภายหลังการจัดเก็บข้อมูลตรวนี้ไว้แลเวนั้น ท่านผู้อ่านเชื่อหรือไม่ครับว่า เราสามารถนำข้อมูลตรงนี้มาใช้ได้เยอะแยะเลยทีเดียว ตั้งแต่การตรวจสอบย้อนกลับในกรณีที่เกิดปัญหา เพื่อวิเคระห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นมาทั้งจากทางฝั่งของเราเอง หรือทางฝั่งของลูกค้า ทำให้สามารถระบุสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นมาได้อย่างแม่นยำ หรือจะใช้ข้อมูลตรงส่วนนี้เพื่อนำมาคำนวณค่า carbon footprint ของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกรีไซเคิล หรือผลิตภัณฑ์พลาสติกของลูกค้า ก็ย่อมได้ครับ

แนวทางการปรับตัว : สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล เรื่องTraceability นี้จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วนะครับในยุคนี้ เพราะว่าในปัจจุบันเม็ดพลาสติกนีไซเคิลกำลังถูกนำมาใช้งานขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติก ที่มีความต้องการทางคุณภาพและประสิทธิภาพค่อนข้างสูง ดังนั้นสำหรับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเราควรจะเริ่มมีการเก็บข้อมูลตรงจุดนี้ อาจจะเริ่มจากวิธีการง่ายๆด้วยการจดบันทึกเอาไว้ แล้วค่อนพัฒนาไปสู่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยครับ เพราะเราต้องไม่ลืมนะครับว่า ในปัจจุบันไปจนถึงอนาคตอันใกล้นี้ เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจะไม่ได้ถูกรำมาใช้เพียงแค่ลดต้นทุนการผลิตเพียงอย่างเดียวแล้วแต่จะถูกนำมาใช้ เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบแนวคิดของอุตสาหกรรมยุคใหม่แบบCircular Economy ด้วยครับ


ต้องการติดต่อสอบถาม หรือ ปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน เม็ดพลาสติกรีไซเคิล ในผลิตภัณฑ์ของท่าน สามารถติดต่อเราได้ที่ -> ติดต่อเรา

Message us